ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์คลังสื่อ ICT

ปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอาชีวศึกษาให้เกิดระบบการเรียนรู้วิชาชีพและอาชีพตลอดชีวิต

ความเป็นมา
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้อนุมัติแผนปฏิบัติราชการประจำ ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ (ตามบันทึกข้อความ สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา เรื่อง ขออนุมัติแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๗) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ โครงการพัฒนาสื่อคลังสื่อ ICTมาใช้ปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอาชีวศึกษาให้เกิดระบบการเรียนรู้วิชาชีพและอาชีพตลอดชีวิต กิจกรรมภายใต้งบประมาณตาม พรบ. โครงการปฏิรูปหลักสูตร สื่อ การจัดการเรียนการสอนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษานั้น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา ดำเนินการสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน ให้กับสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วได้เรียนรู้ด้านวิชาชีพ อาชีพผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองการจัดการเรียนศึกษาในระบบ นอกระบบ และระบบทวิภาคี ซึ่งตามบันทึกข้อความของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา เรื่อง โครงการพัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษาด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศแบบ mobile-Learning ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ บันทึกข้อความของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา เรื่อง รายงานผลการสำรวจสื่อดิจิตอล เพื่อการเรียนการสอน ปีงบประมาณ ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๖ จึงได้จัดทำแผนและโครงการ พัฒนาสื่อคลังสื่อ ICT มาใช้ปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอาชีวศึกษา ให้เกิดระบบการเรียนรู้วิชาชีพและอาชีพตลอดชีวิต ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๗ นั้น ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษาได้ประชุมร่วมปรึกษาหารือกับ คณะทำงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนกิจกรรมการดำเนินงานดังกล่าว
  • เพื่อส่งเสริมการใช้ สื่อ ICT เพื่อการปฏิรูปการเรียนการสอนอาชีวศึกษา โดยนำร่องสถานศึกษาต้นแบบ ๙ แห่ง ดำเนินการใช้สื่อ ICT ในการจัดการเรียนการสอนเสมือนจริง เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนอาชีวศึกษา
  • เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้รองรับการจัดการเรียนการสอน แบบ e-Learning m-Learning และ u-Learning หรือการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านคอร์สแวร์ที่นำเสนอเนื้อหา และกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย
  • เพื่อวิจัยและพัฒนาคลังสื่อและสื่ออิเล็กทรอนิกส์รองรับการเรียนการสอนแบบ e-Learning, m-Learning และ u-Learning ให้มีประสิทธิภาพ ที่สามารถใช้งานและเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทุกที่ทุกเวลา เพื่อส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
  1. ส่งเสริมการใช้ สื่อ ICT เพื่อการปฏิรูปการเรียนการสอนอาชีวศึกษา โดยนำร่องสถานศึกษาต้นแบบ 9 แห่ง ดำเนินการใช้สื่อ ICT ในการจัดการเรียนการสอนเสมือนจริง เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนอาชีวศึกษา
  2. พัฒนากระบวนการเรียนรู้รองรับการจัดการเรียนการสอน แบบ e-Learning m-Learning และ u-Learning หรือการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านคอร์สแวร์ที่นำเสนอเนื้อหา และกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย
  3. วิจัยและพัฒนาคลังสื่อและสื่ออิเล็กทรอนิกส์รองรับการเรียนการสอนแบบ e-Learning, m-Learning และ u-Learning ให้มีประสิทธิภาพ ที่สามารถใช้งานและเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทุกที่ทุกเวลา เพื่อส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
รูปแบบโครงการ พัฒนาสื่อคลังสื่อ ICT มาใช้ปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอาชีวศึกษา ให้เกิดระบบการเรียนรู้วิชาชีพและอาชีพตลอดชีวิต ประจำปีงบประมาณ 2447 ประกอบด้วย
  1. สถานศึกษาต้นแบบ 9 แห่งเป็นเครือข่ายนำร่อง การใช้ ICT เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบ e-Learning m-Learning และ u-Learning ผ่าน on-air , on-line และ off-line ประกอบด้วยรายนามสถานศึกษาดังนี้

    ประกอบด้วยรายนามสถานศึกษาดังนี้

    • วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    • วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฝผ.แม่เมาะ จังหวัดลำปาง
    • วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
    • วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี
    • วิทยาลัยสารพัดช่างนครปฐม จังหวัดนครปฐม
    • วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
    • วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย จังหวัดระยอง
    • วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
    • วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  2. พัฒนากระบวนการออกแบบการเรียนการสอน PADIE Model ประกอบด้วย

    ประกอบด้วย

    • การวางแผน (Planning) เกี่ยวกับการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้ ICT
    • การวิเคราะห์ (Analysis) เนื้อหาและขั้นตอนการวิเคราะห์บทเรียน
    • การออกแบบ (Design) เนื้อหาและบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
    • การพัฒนา (Development) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
    • การนำไปใช้จริง (Implementation) ในสถานศึกษา
    • การประเมินผล (Evaluation) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์และผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้
  3. บูรณาการใช้สื่อ ICT และระบบบริหารจัดการเรียนรู้ (LMS) ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่มีอยู่ รองรับการเรียนการสอนแบบ e-Learning m-Learning และ u-Learning ในสถานศึกษาต้นแบบ ๙ แห่ง ได้แก่
    • ระบบ eDLTV เพื่อพัฒนาอาชีพ โครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (on mobile) เว็บไซต์ http://edltv.vec.go.th
    • ระบบ e-Learning ของ สอศ. เว็บไซต์ http://e-learning.vec.go.th
  4. บูรณาการความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การใช้สื่อ ICT และระบบบริหารจัดการเรียนรู้ (LMS) เพื่อจัดการเรียนการสอนแบบ e-Learning m-Learning และ u-Learning ในสถานศึกษาต้นแบบ ๙ แห่ง ได้แก่

    ได้แก่

    • บริษัทกูเกิล ประเทศไทย ที่ได้ให้การสนับสนุน ระบบการเรียนรู้ออนไลน์และวิทยากร เพื่อพัฒนาบุคลากรอาชีวศึกษา
    • บริษัทไมโครซอฟต์ ประเทศไทย ที่ได้ให้การสนับสนุนการประกวดสื่อ ICT การเรียนรู้ เพื่ออาชีวศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๖ ถึงปัจจุบัน
    • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้แก่ สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรการศึกษา หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักมาตรฐานวิชาชีพการอาชีวศึกษา ศูนย์ทวิภาคีอาชีวศึกษา ร่วมมือการดำเนินงานส่งเสริมสนับสนุนการใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนอาชีวศึกษา
    • หน่วยงานการศึกษาต่างๆ ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ชุมชุนและประชาชนทั่วไปที่ต้องการจะศึกษาด้านวิชาชีพและอาชีพสามารถเรียนรู้ผ่านหลายช่องทาง ทั้งแบบออนไลน์ ออฟไลน์ และผ่านออนแอร์ได้ตลอดเวลา
  5. สถานศึกษาต้นแบบ ๙ แห่ง ต้องเผยแพร่ ขยายผล ประชาสัมพันธ์และบริการ ดังนี้
    • ต้องจัดการเรียนการสอน โดยใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม เพื่อบริการนักเรียน ได้เรียนรู้ ทุกที่ ทุกเวลาผ่านระบบ e-Learning และ Mobile learning
    • จัดสภาพแวดล้อมเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนระบบ e-Learning และ Mobile learning ให้มีความพร้อมและสมบูรณ์
    • บริการทางวิชาการ สื่อด้านอาชีพ และวิชาชีพ ให้แก่หน่วยงานการศึกษา ชุมชน ประชาชนทั่วไป ผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาตนเองและประกอบอาชีพได้ เพื่อให้ครอบคลุมสู่กลุ่มเป้าหมายทั่วทั้งประเทศ